ข้อมูล Landsat-9 นี้ประกอบด้วยชุดข้อมูลการสะท้อนที่ปรับแก้ผลจากบรรยากาศและอุณหภูมิพื้นผิว จาก Landsat 9 OLI/TIRS โดยมีข้อมูลที่บันทึกในช่วงคลื่นตามองเห็น ช่วงคลื่นอินฟาเรดใกล้ (VNIR) รวม 5 แบนด์ ช่วงคลื่นอินฟราเรดคลื่นสั้น (SWIR) 2 แบนด์ และอินฟราเรดความร้อน (TIR) 1 แบนด์ ซึ่งปกติแล้วผลิตภัณฑ์ของ USGS จะประกอบไปด้วย 3 tiers หลักๆ ได้แก่
- Tier 1 (T1) – ข้อมูลที่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านคุณภาพเชิงเรขาคณิต และเรดิโอเมตริก
- Tier 2 (T2) – ข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด Tier 1
- Real Time (RT) – ข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ (ซึ่งอาจใช้เวลามากถึงหนึ่งเดือนในกระบวนการตรวจสอบ)
การโหลดข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat-9 แบบ Surface Reflectance
จากตัวอย่างจะทดลองโหลด Landsat-9 ใน Collection 2 Tier 1 Surface Reflectance ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 และทำการผสมสีจริงโดยใช้แบนด์ B4 B3 และ B2 จากการนำเข้าข้อมูลภาพใน Code Editor โดยใช้คำสั่ง
// เลือกข้อมูลใน Landsat-9 Collection 2 Tier 1
var dataset = ee.ImageCollection('LANDSAT/LC09/C02/T1_L2')
.filterDate('2023-01-01', '2023-01-31');
// แปลงค่า DN ไปเป็นค่า Surface Reflectance
function applyScaleFactors(image) {
var opticalBands = image.select('SR_B.').multiply(0.0000275).add(-0.2);
var thermalBands = image.select('ST_B.*').multiply(0.00341802).add(149.0);
return image.addBands(opticalBands, null, true)
.addBands(thermalBands, null, true);
}
dataset = dataset.map(applyScaleFactors);
//
var visualization = {
bands: ['SR_B4', 'SR_B3', 'SR_B2'],
min: 0.0,
max: 0.3,
};
//กำหนดจุดกึ่งกลางในการแสดงผลเป็นตำแหน่งพิกัดของจังหวัดเชียงใหม่
Map.setCenter(98.9853, 18.7883, 6);
Map.addLayer(dataset, visualization, 'True Color (432)');
ผลลัพธ์ดังภาพ

การโหลดข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat-9 แบบ Top of Atmosphere
ข้อมูล Landsat-9 ใน Collection 2 Tier 1 เป็นข้อมูล TOA Reflectance ที่ได้รับการปรับแก้ผลจากชั้นบรรยากาศเรียบร้อยแล้ว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 และทำการผสมสีจริงโดยใช้แบนด์ B4 B3 และ B2 จากการนำเข้าข้อมูลภาพใน Code Editor โดยใช้คำสั่ง
// เลือกข้อมูลใน Landsat-9 Collection 2 Tier 1 TOA Reflectance
var dataset = ee.ImageCollection('LANDSAT/LC09/C02/T1_TOA')
.filterDate('2023-01-01', '2023-01-31');
var trueColor432 = dataset.select(['B4', 'B3', 'B2']);
var trueColor432Vis = {
min: 0.0,
max: 0.4,
};
//กำหนดจุดกึ่งกลางในการแสดงผลเป็นตำแหน่งพิกัดของจังหวัดเชียงใหม่
Map.setCenter(98.9853, 18.7883, 6);
//แสดงผลข้อมูลภาพ และกำหนดการแสดงผลตามตัวแปร trueColor432Vis และตั้งชื่อเลเยอร์เป็น "สีผสมจริง (432)"
Map.addLayer(trueColor432, trueColor432Vis, 'สีผสมจริง (432)');
โดยจะได้ผลลัพธ์ดังภาพด้านล่าง

การโหลดข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat-9 แบบ Raw
ข้อมูล Landsat 9 ใน Collection 2 Tier 1 DN จะเป็นข้อมูลดิบที่แสดงเป็นค่า DN โดยมีการปรับแก้ค่าเชิงรังสีจากเซนเซอร์ ซึ่งสามารถเรียกดูข้อมูลประเภทนี้ ได้ตามตัวอย่างของโค๊ด
// เลือกข้อมูลใน Landsat-9 Collection 2 Tier 1 Raw Image
var dataset = ee.ImageCollection('LANDSAT/LC09/C02/T1')
.filterDate('2022-01-01', '2022-02-01');
var trueColor432 = dataset.select(['B4', 'B3', 'B2']);
var trueColor432Vis = {
min: 0.0,
max: 30000.0,
};
//กำหนดจุดกึ่งกลางในการแสดงผลเป็นตำแหน่งพิกัดของจังหวัดเชียงใหม่
Map.setCenter(98.9853, 18.7883, 6);
//แสดงผลข้อมูลภาพ และกำหนดการแสดงผลตามตัวแปร trueColor432Vis และตั้งชื่อเลเยอร์เป็น "สีผสมจริง (432)"
Map.addLayer(trueColor432, trueColor432Vis, 'สีผสมจริง (432)');
โดยผลลัพธ์ดังแสดงในภาพ

อ้างอิงจาก: https://developers.google.com/earth-engine/datasets/catalog/landsat-9