ข้อมูล Sentinel-1 Collection Ground Range Detected (GRD) เป็นข้อมูล C-band แบบดูอัลโพลาไรซ์ ที่ 5.405GHz ประมวลผล Collection ทุกๆ 6 และ 12 วัน โดยข้อมูลแต่ละ scenes ผ่านการปรับแก้ 3 ขั้นตอน ได้แก่

  1. การปรับแก้สัญญาณรบกวนที่เกิดจากความร้อน (Thermal noise removal)
  2. การปรับแก้ความเข้มของข้อมูลภาพ (Radiometric calibration)
  3. การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนที่เป็นผลมาจากภูมิประเทศ (Terrain correction)

ข้อมูล Sentinel-1 มีโพลาไรซ์ 2 รูปแบบ คือ Single band และ Dual band ดังนี้

  1. VV: single co-polarization, vertical transmit/vertical receive
  2. HH: single co-polarization, horizontal transmit/horizontal receive
  3. VV + VH: dual-band cross-polarization, vertical transmit/horizontal receive
  4. HH + HV: dual-band cross-polarization, horizontal transmit/vertical receive

การโหลดข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel-1 SAR GRD แบบ Single band

จากตัวอย่างจะทดลองโหลด Sentinel-1 SAR ใน Collection VV: single co-polarization ทำการผสมสีจริงเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ 3 ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2566 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 จากการนำเข้าข้อมูลภาพใน Code Editor โดยใช้คำสั่ง

// การเรียกชุดข้อมูลข้อมูลภาพถ่าย Sentinel-1
var imgVV = ee.ImageCollection('COPERNICUS/S1_GRD')
        .filter(ee.Filter.listContains('transmitterReceiverPolarisation', 'VV'))
        .filter(ee.Filter.eq('instrumentMode', 'IW'))
        .select('VV')
        .map(function(image) {
          var edge = image.lt(-30.0);
          var maskedImage = image.mask().and(edge.not());
          return image.updateMask(maskedImage);
        });

// กำหนดรอบการโคจรของดาวเทียม
var desc = imgVV.filter(ee.Filter.eq('orbitProperties_pass', 'DESCENDING'));
var asc = imgVV.filter(ee.Filter.eq('orbitProperties_pass', 'ASCENDING'));

// เลือกช่วงเวลาที่ต้องการตรวจสอบ
var june = ee.Filter.date('2023-06-01', '2023-06-30');
var july = ee.Filter.date('2023-07-01', '2023-07-31');
var august = ee.Filter.date('2023-08-01', '2023-08-31'); 

// วงโคจรขาลง
var descChange = ee.Image.cat(
        desc.filter(june).mean(),
        desc.filter(july).mean(),
        desc.filter(august).mean());

// วงโคจรขาขึ้น
var ascChange = ee.Image.cat(
        asc.filter(june).mean(),
        asc.filter(july).mean(),
        asc.filter(august).mean());

// กำหนดจุดกึ่งกลางในการแสดงผลเป็นตำแหน่งพิกัดของจังหวัดเชียงใหม่
Map.setCenter(98.9853, 18.7883, 12);

// กำหนดการแสดงผลตามค่า min และ max ของภาพ และตั้งชื่อเลเยอร์เป็น 'Multi-T Mean ASC' และ 'Multi-T Mean DESC'
Map.addLayer(ascChange, {min: -25, max: 5}, 'Multi-T Mean ASC', true);
Map.addLayer(descChange, {min: -25, max: 5}, 'Multi-T Mean DESC', true);

ผลลัพธ์ดังแสดงในภาพ


ตัวอย่างถัดมาจะทดลองโหลด Sentinel-1 SAR ใน Collection VH ทำการผสมสีจริงเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ 3 ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2566 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 จากการนำเข้าข้อมูลภาพใน Code Editor โดยใช้คำสั่ง

// การเรียกชุดข้อมูลข้อมูลภาพถ่าย Sentinel-1
var imgVH = ee.ImageCollection('COPERNICUS/S1_GRD')
        .filter(ee.Filter.listContains('transmitterReceiverPolarisation', 'VH'))
        .filter(ee.Filter.eq('instrumentMode', 'IW'))
        .select('VH')
        .map(function(image) {
          var edge = image.lt(-30.0);
          var maskedImage = image.mask().and(edge.not());
          return image.updateMask(maskedImage);
        });

// กำหนดรอบการโคจรของดาวเทียม
var desc = imgVH.filter(ee.Filter.eq('orbitProperties_pass', 'DESCENDING'));
var asc = imgVH.filter(ee.Filter.eq('orbitProperties_pass', 'ASCENDING'));

// เลือกช่วงเวลาที่ต้องการตรวจสอบ
var june = ee.Filter.date('2023-06-01', '2023-06-30');
var july = ee.Filter.date('2023-07-01', '2023-07-31');
var august = ee.Filter.date('2023-08-01', '2023-08-31'); 

// วงโคจรขาลง
var descChange = ee.Image.cat(
        desc.filter(june).mean(),
        desc.filter(july).mean(),
        desc.filter(august).mean());

// วงโคจรขาขึ้น
var ascChange = ee.Image.cat(
        asc.filter(june).mean(),
        asc.filter(july).mean(),
        asc.filter(august).mean());

// กำหนดจุดกึ่งกลางในการแสดงผลเป็นตำแหน่งพิกัดของจังหวัดเชียงใหม่
Map.setCenter(98.9853, 18.7883, 12);

// กำหนดการแสดงผลตามค่า min และ max ของภาพ และตั้งชื่อเลเยอร์เป็น 'Multi-T Mean ASC' และ 'Multi-T Mean DESC'
Map.addLayer(ascChange, {min: -25, max: 5}, 'Multi-T Mean ASC', true);
Map.addLayer(descChange, {min: -25, max: 5}, 'Multi-T Mean DESC', true);

โดยผลลัพธ์ดังแสดงในภาพ

อ้างอิงจาก: https://developers.google.com/earth-engine/datasets/catalog/COPERNICUS_S1_GRD